วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ดนตรีกับงานประเพณีท้องถิ่น

         1. ดนตรีกับงานประเพณีท้องถิ่น

        1.1 บทเพลงในงานประเพณีของภาคเหนือ บทเพลงในงานประเพณีของภาคเหนือ เช่น เพลงซอเมืองในอดีตเคยใช้เป็นเพลงในพิธีปลงศพ กษัตริย์ภายหลังได้ดัดแปลงร้อยแก้วขึ้นใหม่ จึง กลายเป็นมหรสพที่ใช้เล่นทั่วไปในงานประเพณีต่างๆ ทางภาพเหนือ





 ซอนิทาน เรื่องน้อยไจยา

        น้อยไจยา : ดวงดอกไม้ แบ่งบานสลอน ฝูงภมร แม่เผิ้งสอดไซ้ ดอกพิกุล ของพี่ต้นใต้ ลมพัดไม้ มารอดบ้านตู รู้แน่ชัด เข้าสู่สองหู ว่าสีชมพู ถูกป้้าเค้าเนิ้ง เค้ามันตาย ปลายมันเสิ้ง ล ากิ่งเนิ้ง ตายโค่นทวยแนว ดอกพิกุล ก็คือดอกแก้ว ไปเป็นของเปิ้น แล้วเน้อ แว่นแก้ว 

        เต็มเค้าเนิ้ง กิ่งใบแท้เล่า ตามค าลม ที่พัดออกเข้า มีแต่เค้า ไหวหวั่น คลอนเฟือน กิ่งมันแท้ บ่แส่เสลือน บ่เหมือนลมโชย ร าเพยเชื่อนั้น ใจของหญิง น้องหนิมเที่ยงมั่น บ่เป็นของเปิ้น คนใด ยังเป็นกระจก แว่นแก้วเงาใส บ่มีใจเหงี่ยง ชายเน้อ 

บทเพลงในงานประเพณีภาคอีสาน

        หมอลำ เป็นเพลงพื้นบ้านที่นิยมมากในภาคอีสาน ในงานประเพณี ต่างๆ ได้พัฒนาการแสดงเป็นคณะ มีการฝึกหัดเป็นอาชีพ รับจ้าง ไปแสดงในงานต่างๆ มีท านองล า เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ลาย" ที่ นิยมมีด้วยกัน ๔ ลาย คือ ๑. ลายทางเส้น ๒. ลายทางยาว ๓. ลายล าเพลิน ๔. ลายลำเต้ย 

      ลายล าเต้ย ชื่อ เต้ยโขง

              ลา ลา ก่อนเด้อ               ขอให้เธอจงมีรักใหม่ 

ชาตินี้ขอเป็นขวัญตา                       ชาติหน้าขอเป็นขวัญใจ

 ชาตินี้แลชาติใด                              ขอให้ได้เคียงคู่กับเธอ 


 
บทเพลงในงานประเพณีภาคใต้

 เพลงบอก    เป็นเพลงพื้นบ้านที่นิยมเล่นในวันสงกรานต์ (ก่อนหรือหลังก็ได้) เพื่อบอกความหรือประกาศวัน สงกรานต์ว่า ปีนี้นาคให้น้ ากี่ตัว วันใดเป็นวันธงชัย วัน อธิบดี ฯลฯ เพลงบอกอาจเล่นในงานบุญต่างๆ หรืองาน ประจ าปีก็ได้ชาวบ้านจะรวมกลุ่ม ๕ - ๑๐ คน เครื่อง ดนตรีมีทั้งขลุ่ย ทับ ปี่ ฉิ่ง กรับ หรือแล้วแต่จะหาได้ เดินร้องเพลงไปตามหมู่บ้าน

 ตัวอย่าง เพลงบอก เรื่องศาลาโดหก

 เพลงบอกของเจ้าคุณวัดท่าโพธิ์         พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช

 บ้านเมืองเอก ณ ปักษ์ใต้             พลไพร่ก็พร้อมเพรียง

 รุกขะเรียงแกววิถี  เมทนีดล

 มีศาลาหน้านครินทร์                  พื้นเป็นดินก่อด้วยอิฐ

 หลังคาปิดบังร้อน           ทั้งได้ซ่อนฝน

 ศาลานี้มีเป็นหลัก                   ที่สำนักประชาชน

 ผู้เดินหนได้หยุดอยู่    ทุกฤดูกาล

 มีประดู่อยู่หกต้น                      ที่สูงพ้นแต่หลังคา

 รอบศาลากิ่งโตใหญ่       แผ่อยู่ไพศาล

 อยู่ในถิ่นประจิมถนน            เป็นที่ชมส าราญ

 แต่ก่อนกาลดึกดำบรรพ์        เป็นที่ส าคัญกล่าว

 ชาวบ้านนอกออกสำเหนียก   นิยมเรียกคำสั้นสั้น

ชอบแกล้งกลั่นพูดห้วนห้วน ตัดส านวนยาว

 เรียกว่าศาลาโดหก                      โดยหยิบยกวัตถุกล่าว

 เรียกกันฉาวทั้งบ้าน     มีพยานโข...

 บทเพลงในงานประเพณีภาคกลาง เพลงพื้นบ้านภาคกลางส่วนใหญ่เป็นเพลงโต้ตอบหรือเพลง ปฏิพากย์ เป็นเพลงที่หนุ่มสาวใช้ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน มักร้องกัน เป็นกลุ่มหรือเป็นวง ประกอบด้วย ผู้ร้องน าเพลงฝุายชายและฝุายหญิงที่ เรียกว่า พ่อเพลง แม่เพลง ส่วนคนอื่นๆ เป็นลูกคู่ร้องรับ ให้จังหวะด้วย การปรบมือ หรือใช้เครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เช่น กรับ ฉิ่ง เพลง โต้ตอบนี้ ชาวบ้านภาคกลางน ามาร้องเล่นในโอกาสต่างๆ ตามเทศกาล หรือในเวลาที่มารวมกลุ่มกัน เพื่อท ากิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

 ตัวอย่าง เพลงพิษฐาน

 ชาย : พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน พานเอาดอกพิกุล

 ลูกคู่ : มือหนึ่งถือพาน พานเอาดอกพิกุล ชาย : เกิดชาติใดแสนใดเอย ขอให้ลูกได้ส่วนบุญ

 ลูกคู่ : พิษฐานวานไหว้ ขอให้ได้ดังพิษฐานเอย เอ๋ยเนรมิต ยอดพระพิษฐานเอย

 หญิง : พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน พานเอาดอกจ าปี 

ลูกคู่ : มือหนึ่งถือพาน พานเอาดอกจ าปี 

หญิง : ลูกเกิดมาชาติใดแสนใด ขอให้ลูกได้ไอ้ที่ดีๆ

 ลูกคู่ : พิษฐานวานไหว้ ขอให้ได้ดังพิษฐานเอย เอ๋ยเนรมิต ยอดพระพิษฐาน เอย 

บทบาทดนตรีในแต่ละประเพณี

       ดนตรีถือเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนใน สังคมเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ ละประเพณี

     1. ดนตรีในกิจกรรมหรืองานรื่นเริงสังสรรค์ จะเป็นไปใน ลักษณะของการใช้ดนตรีเพื่อสร้างความสนุกสนาน

     2. ดนตรีที่ใช้ในพิธีการ เช่น พิธีเปิดเพื่อเป็นสัญญาณ บอกว่าเวลาอันเป็นมงคลก าลังเริ่มขึ้นใช้บรรเลงเพื่อ ต้อนรับและเพื่อส่งประธานในพิธี

     3. ดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พิธีกรรมทางศาสนามีทั้งพิธีมงคลและพิธีอวมงคล ในพิธี มงคลจะใช้ดนตรีบรรเลงเพื่อสร้างความบันเทิงให้สนุกสนาน ในพิธีอวมงคล จะใช้ดนตรีบรรเลงเพื่อแสดงความเคารพหรือ แสดงความเศร้าโศก แสดงความศักดิ์ในพิธีกรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น